เมนู

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] 5. ปัญจกวาร
5. ปัญจกวาร
ว่าด้วยหมวด 5
[325] อาบัติมี 5 กองอาบัติมี 5 วินีตวัตถุมี 5 อนันตริยกรรมมี 5 บุคคล
ที่แน่นอนมี 5 อาบัติมีการตัดเป็นวินัยกรรมมี 5 ต้องอาบัติด้วยอาการ 5 อาบัติ
เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัยมี 5
ภิกษุไม่เข้ากรรมด้วยอาการ 5 อย่าง คือ

1. ตนเองไม่ทำกรรม 2. ไม่เชิญภิกษุอื่น
3. ไม่ให้ฉันทะหรือปาริสุทธิ 4. เมื่อสงฆ์ทำกรรมย่อมคัดค้าน

5. เมื่อสงฆ์ทำกรรมเสร็จแล้วกลับเห็นว่าไม่เป็นธรรม
ภิกษุเข้ากรรมด้วยอาการ 5 อย่าง คือ

1. ตนเองทำกรรม 2. เชิญภิกษุอื่น
3. ให้ฉันทะหรือปาริสุทธิ 4. เมื่อสงฆ์ทำกรรมไม่คัดค้าน

5. เมื่อสงฆ์ทำกรรมเสร็จแล้ว ก็เห็นว่าเป็นธรรม
กิจ 5 อย่าง สมควรแก่ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาต คือ

1. เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา 2. ฉันคณโภชนะได้
3. ฉันปรัมปรโภชนะได้ 4. การไม่ต้องอธิษฐาน
5. การไม่ต้องวิกัป

ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 จะเป็นภิกษุเลวทรามก็ดี จะเป็นภิกษุมีธรรมอัน
ไม่กำเริบก็ดี ย่อมถูกระแวง ถูกรังเกียจ คือ

1. มีหญิงแพศยาเป็นโคจร 2. มีหญิงม่ายเป็นโคจร
3. มีสาวเทื้อเป็นโคจร 4. มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร
5. มีภิกษุณีเป็นโคจร

น้ำมันมี 5 ชนิด คือ
1. น้ำมันงา 2. น้ำมันเมล็ดพันธุ์ผักกาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :463 }


พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย] 5. ปัญจกวาร
3. น้ำมันมะซาง 4. น้ำมันระหุ่ง
5. น้ำมันเปลวสัตว์
มันเหลวสัตว์มี 5 ชนิด คือ

1. มันเหลวหมี 2. มันเหลวปลา
3. มันเหลวปลาฉลาม 4. มันเหลวหมู
5. มันเหลวลา

ความเสื่อมมี 5 อย่าง คือ

1. ความเสื่อมญาติ 2. ความเสื่อมโภคสมบัติ
3. ความเสื่อมคือโรค 4. ความเสื่อมศีล
5. ความเสื่อมทิฏฐิ

ความถึงพร้อมมี 5 อย่าง คือ
1. ญาติสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งญาติ)
2. โภคสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งโภคสมบัติ)
3. อาโรคยสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งความไม่มีโรค)
4. สีลสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งศีล)
5. ทิฏฐิสัมปทา(ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ)
นิสัยระงับจากพระอุปัชฌาย์มี 5 คือ

1. พระอุปัชฌาย์หลีกไป 2. พระอุปัชฌาย์สึก
3. พระอุปัชฌาย์มรณภาพ 4. พระอุปัชฌาย์ไปเข้ารีตเดียรถีย์
5. พระอุปัชฌาย์สั่งบังคับ

บุคคล 5 จำพวก ไม่ควรให้อุปสมบท คือ

1. มีกาลบกพร่อง 2. มีอวัยวะบกพร่อง
3. มีวัตถุวิบัติ 4. มีการกระทำอันเสียหาย
5. ไม่บริบูรณ์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 8 หน้า :464 }